หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
 
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง
อ.แกลง จ.ระยอง
 
 
 
อำนาจหน้าที่
 
 

 
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง  
 

     อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติม         (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 รวมตลอดถึงกฎหมายอื่นๆ ที่ให้อำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลไว้             อาทิพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 โดยองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางได้วิเคราะห์      อำนาจหน้าที่ตามหลัก SWOT เพื่อกำหนดการดำเนินการตามภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล ตลอดจนนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนโดยกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ออกเป็น 7 ด้าน ดังนี้

1.   ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
         (1)  การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทางบกและทางน้ำ
         (2)  การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
         (3)  การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร
         (4)  การสาธารณูปการ
         (5)  การจัดให้มีและการบำรุงทางน้ำและทางบก
         (6)  การจัดให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
         (7)  การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
         (8) การจัดให้มีตลาด  ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
         (9)  การจัดให้มีและการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

2.  ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
         (1)  การจัดการศึกษา
         (2)  การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด  การรักษาพยาบาล การป้องกันและการควบคุมโรคติดต่อ
         (3)   การป้องกัน การบำบัดโรค และการจัดตั้งบำรุงสถานพยาบาล
         (4)  การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส
         (5)  การรักษาความสะอาดของถนน ทางเดิน และที่สาธารณะ
         (6)  การจัดให้มีโรงฆ่าสัตว์
         (7)  การจัดให้มีสุสานและฌาปนสถาน
         (8)  การจัดให้มีการบำรุงสถานที่สำหรับนักกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ  สวนสัตว์ ตลอดจนสถานที่ประชุมอบรมราษฏร
         (9)   การบำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฏร


3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
         (1)  การส่งเสริมประชาธิปไตย  ความเสมอภาค และลัทธิเสรีภาพของประชาชน
(2)   การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(3)   การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด
         (4)  การรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนในเขตสภาตำบล

4. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีอำนาจหน้าที่  ดังนี้
         (1)   การจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
         (2)   การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง
         (3)   การส่งเสริมการท่องเที่ยว  
         (4)   การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุนและการทำกิจกรรมไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่น

5. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
         (1)   การคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาน้ำ ป่าไม้  ที่ดิน สัตว์ป่า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2)   การจัดตั้งและการดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม
(3)   การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม
(4)   การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ

6. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
         (1)   การจัดการศึกษา
         (2)   บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
         (3)   การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
         (4)   การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ
   (5)   การศึกษา  การทำนุบำรุงศาสนา และการส่งเสริมวัฒนธรรม

7.  ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง  มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
         (1)   สนับสนุนสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น สนับสนุน หรือช่วยเหลือส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
         (2)   ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
         (3)   การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
         (4) การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสากิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น

 

ข่าว ณ. วันที่ 3 ม.ค. 2567 เวลา 11.02 น. โดย คุณธีระ ภู่เงิน

ผู้เข้าชม 82 ท่าน